วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

ทดลองใช้ DBMS


DBMS (Database Management System) คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข การเข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ

ที่มา : https://sites.google.com/site/sarit9895/dbms

หน้าที่ของ DBMS
  1. ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ
  2. ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ
  3. ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้
  4. ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
  5. ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary  ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)
  6. ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างฐานข้อมูลที่เป็น DBMS
  • MySQL
  • Oracle
  • Microsoft SQL Server


MySQL คือ Open Source Relational Database Management System (RDBMS) โดย MySQL นั้นถือว่าเป็นฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานบน Web Application เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า LAMP (Linux, Apache, MySQL และ PHP)



Install
เริ่มจากติดตั้งโปรแกรม โดยจะใช้โปรแกรม XAMPP ซึ่งเป็นโปรแกรม Apache web server ไว้จำลอง web server โดยที่ Xampp จะมาพร้อมกับ MySQL, PHP, Apache ทำให้สะดวกต่อการพัฒนา web application สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิ้งก์นี้ Download


Setup
หลังจากติดตั้งโปรแกรม XAMPP เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะทำการเปิด local server จาก Apache web server และเปิดใช้งาน Database จาก MySQL 

เปิดการใช้งาน Apache และ MySQL

จากนั้นให้เข้าไปยัง localhost/phpmyadmin เพื่อเข้าไปยังฐานข้อมูล ก็จะสามารถใช้งาน MySQL ได้ในทันที

หน้าเว็บการจัดการ Database

ขั้นตอนการสร้างตาราง (Create Table) ในฐานข้อมูล MySQL
      1. เข้ามายังหน้าเว็บ phpmyadmin และเลือกแท็บเมนู Database

      2. จากนั้นใส่ชื่อ Database และเลือก Collection โดยแนะนำให้เลือก utf8_general_ci เพราะสามารถอ่านข้อความภาษาไทยได้ เมื่อเรียบร้อยให้กด Create

      3. หลังจากสร้าง Database ให้คลิก Database ที่สร้างขึ้นตรงแถบด้านซ้าย จากนั้นจะไปสู่หน้าที่สร้างตาราง โดยใส่ชื่อตาราง และจำนวน Column ที่ต้องการ จากนั้นกด Go ทางด้านขวา

      4. หลังจากนั้นจะมาสู่หน้าใส่รายละเอียดของ Column ว่าต้องการใส่ข้อมูลชนิดไหนบ้าง
    • Name : ชื่อฟิลด์
    • Type : ประเภทของข้อมูล
    • Length/Values : จำนวนค่าสูงสุดของแต่ละฟิลด์
    • Default : ค่าเริ่มเต้น
    • Collation : รหัสอักขระ
    • Attributes : คุณสมบัติ
    • Null : ว่าง
    • Index : คุณสมบัติของฟิลด์ (Primary Key)
    • Comments : การแสดงรายละเอียดของฟิลด์

***หรือสามารถใช้วิธีการเขียนโค้ดด้วยภาษา SQL ในการสร้างตารางก็ได้ด้วยเช่นกัน***

      5. เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยจะแสดงหน้าตารางที่ได้สร้างขึ้นมา เป็นอันเสร็จสิ้นในการสร้างตารางฐานข้อมูล


การเพิ่มข้อมูลลงในตาราง Database (Insert Data)
      1. หลังจากที่ได้สร้างตารางเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้คลิกชื่อตารางทางด้านซ้ายมือ จากนั้นก็จะแสดงหน้าอีกหน้าขึ้นมา จากนั้นให้กด Insert

      2. จากนั้นก็กรอกข้อมูลลงในช่อง Value ตามหัว Column ของตารางที่ได้สร้างไว้ (ในส่วนของ student_id จะไม่ใส่ค่า เพราะว่าตั้งค่าให้เป็น Auto_Increment คือมีการใส่ค่าให้อัตโนมัติ) เมื่อกรอกเสร็จ กด Go เพื่อบันทึกข้อมูล

      3. หลังจากบันทึกเรียบร้อย ให้ไปยังหน้า Browse เพื่อดูผลลัพธ์ ก็จะเห็นว่ามีข้อมูลถูกเพิ่มเข้ามาในตารางเรียบร้อยแล้ว

***หรือสามารถใช้วิธีการเขียนโค้ดด้วยภาษา SQL ในการเพิ่มข้อมูลเข้าตารางก็ได้ด้วยเช่นกัน***


Query Data 
เป็นการเลือกข้อมูลที่ต้องการจะแสดง จากฐานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น แสดงชื่อนักเรียนที่อยู่ในช่วง ID 1 และ 2 จะเขียนคำสั่งได้ดังรูป 

เมื่อกด Go จะทำการค้นหาข้อมูลที่ตรงกับคำสั่งที่ได้เขียนไป และแสดงผลลัพธ์ออกมา

ได้เรียนรู้อะไรบ้าง:
  • ได้รู้ความหมายของ DBMS ว่ามันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
  • ได้รู้จัก MySQL ว่าทำหน้าที่อะไร และได้รู้ว่ามันสามารถติดตั้งได้หลายวิธีมากๆ
  • ได้ฝึกเขียนภาษา SQL ในการสร้างตาราง แทรกข้อมูล และการ Query ข้อมูล
ปัญหาและการแก้ไข:
  • ปัญหา ไม่รู้ว่าจะใช้ DBMS อะไรดี เพราะมีเยอะมาก
    • แก้ไข ศึกษาหาข้อมูลว่าตัวไหนใช้งานง่าย หรือว่ามีคนใช้เยอะ จะได้มี reference เยอะ
  • ปัญหา เมื่อรู้ว่าจะใช้ MySQL แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะติดตั้งโดยใช้อะไรดี เพราะมีหลากหลายวิธีมากๆ
    • แก้ไข ลองเกือบทุกวิธี และศึกษาแต่ละอย่างว่าแตกต่างกันอย่างไร และใช้วิธีที่ง่ายที่สุด
การตัดสินใจ:
  • เลือกใช้ MySQL เพราะว่าได้รับความนิยมสูงมาก และสามารถใช้ได้ร่วมกันหลายภาษา
  • เลือกใช้ xampp ในการลง MySQL เพราะว่ามี phpMyAdmin ในโปรแกรมนั้นด้วย ซึ่งเป็นการเขียน Database แบบ GUI ทำให้สามารถเขียนได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด หรือจะสามารถเขียนโค้ดก็ได้เช่นกัน ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น